×
แชทกับหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน
ยินดีให้บริการค่ะ....
เริ่มแชท
เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ให้ความยินยอม
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน
อำเภอทับสะเก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน
apps
เมนูหลัก
เมนูทั้งหมด
เมนูหลัก (Main)
video_label
ประชาสัมพันธ์
star
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน
camera_alt
ภาพกิจกรรม
cast
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง e-GP
cast
rss egp
ข้อมูลข่าวสาร
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
play_arrow
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
info
ข้อมูลหน่วยงาน
group
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
home
ประวัติความเป็นมา
landscape
สภาพทั่วไป
verified_user
อำนาจหน้าที่
today
ข้อมูลบุคลากร
account_circle
คณะผู้บริหาร
account_circle
ฝ่ายสภา
account_circle
หัวหน้าส่วนราชการ
account_circle
สำนักปลัด
account_circle
กองคลัง
account_circle
กองช่าง
account_circle
กองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม
account_circle
หน่วยตรวจสอบภายใน
account_circle
กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน
call
ข้อมูลการติดต่อ
dvr
กระดานสนทนา
arrow_back_ios
กลับเมนูหลัก
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
group
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์การพัฒนา
“การคมนาคมสะดวกปลอดภัย ป้องกันแก้ไขอุบัติภัยทันท่วงที ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความรู้ทันสมัย มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงาม”
พันธกิจการพัฒนา
พันธกิจที่ 1 สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง เน้นด้านเกษตรกรรม โดยเป็นตลาดผลผลิตทางการเกษตร ควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา ฟื้นฟู แหล่งท่องเที่ยวให้สมดุลและยั่งยืน พันธกิจที่ 2 สร้างกระบวนการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น พันธกิจที่ 3 พัฒนา ส่งเสริมคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีสุขภาวะที่ดีอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ พร้อมทั้งฟื้นฟู อนุรักษ์ ส่งเสริม มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น พันธกิจที่ 4 สร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่ป่า แหล่งน้ำ เสริมสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมจัดการขยะชุมชน อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พันธกิจที่ 5 พัฒนาและส่งเสริมระบบบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างภาครัฐกับประชาชนตามแนวทางการบริหารจัดการที่ดี พันธกิจที่ 6 พัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงเครือข่ายภายนอกในการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกับส่งเสริมการจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดและนำระบบผังเมืองมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
home
ประวัติความเป็นมา
สัญลักษณ์หน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ตำบลเขาล้านเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอทับสะแก เดิมเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นอยู่กับตำบลทับสะแก ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น ได้จัดตั้งเป็น ตำบลเขาล้าน เมื่อปี พ.ศ. 2513 ชื่อว่าตำบลเขาล้าน เหตุที่เรียกว่า “เขาล้าน” เนื่องมาจากมีภูเขาหนึ่งในหมู่ที่ 5 มีลักษณะโล่งเตียน เมื่อจัดตั้งครั้งแรกตำบลนี้มี 10 หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2527 ได้แยกหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 2 หมู่บ้าน รวมเป็น 12 หมู่บ้านและในปี พ.ศ.2531 อำเภอทับสะแก ได้จัดตั้งตำบลขึ้นอีก 1 ตำบล ซึ่งได้รวมเอาหมู่บ้านของตำบลเขาล้านไป 2 หมู่บ้าน จึงทำให้ตำบลเขาล้านมีเพียง 11 หมู่บ้าน โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็น 2 ส่วน โดยหมู่ที่ 7 บ้านกลางเป็นหมู่บ้านในเขตเทศบาล นอกนั้นอยู่ในส่วนรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาล้าน ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ได้รับยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 19 มกราคม 2539
landscape
สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไป
ที่ตั้งและอาณาเขต ตำบลเขาล้านเป็นตำบล 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอทับสะแกทางทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 98 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 61,250 ไร่ อยู่ห่างจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาทางทิศใต้ประมาณ 41 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอทับสะแกประมาณ 7 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้ ทิศเหนือ พื้นที่ตำบลแสงอรุณและตำบลทับสะแก ทิศใต้ ตำบลนาหูกวาง ทิศตะวันออก ตำบลทับสะแก ทิศตะวันตก เทือกเขาตะนาวศรี
เขตการปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ( หมู่ที่ 7 บ้านกลาง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลทับสะแก ) หมู่ที่ 1 บ้านห้วยแห้ง ที่มา : สมัยก่อนบ้านห้วยแห้งมีชื่อว่าปากคาน และห้วยแห้งเป็นชื่อของหมู่ที่ 2 ต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้าน และได้มีการจัดตั้งชื่อกันใหม่ทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านปากคานเห็นว่าแถวหมู่บ้านมีห้วยที่มีน้ำแห้งอยู่มาก จึงใช้เป็นชื่อหมู่บ้าน จึงเรียกว่า “บ้านห้วยแห้ง” หมู่ที่ 2 บ้านนาตาปะขาว ที่มา : สมัยก่อนที่ดินส่วนมากเป็นที่นาแล้วมีตาคนหนึ่งชื่อตาปะขาวมาบวช ชีพราหม์ต่อมาก็หายไป ตั้งแต่บัดนั้นชาวบ้านจึงได้เรียกว่า “บ้านนาตาปะขาว” หมู่ที่ 3 บ้านนาล้อม ที่มา : เดิมชื่อว่าบ้านทุ่งโป่งต่อมาในสมัยผู้ใหญ่อรรถ ชนะภัย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านนาล้อมโดยถือเอา สภาพภูมิประเทศ ที่มีนาล้อมรอบและหมู่บ้านอยู่ตรงกลาง จึงเรียกว่า “บ้านนาล้อม” หมู่ที่ 4 บ้านพุตะแบก ที่มา : เดิมนั้นชุมชนนี้เป็นเส้นทางเกวียนและลายทางจะมีต้นตะแบกอยู่มากมายและได้มีปัญหาเกวียนลงพุ( เกวียนติดหลุม ) เลยเรียกรวมกันว่า “พุตะแบก” หมู่ที่ 5 บ้านมะเดื่อทอง ที่มา : เดิมที่ดินเป็นป่าดงดิบและเมื่อมีคนเข้ามาอยู่อาศัยก็ได้มีการตัดไม้ทำลายป่าจนกลายเป็นภูเขาหัวล้าน และเรียกว่า “บ้านเขาล้าน” ขึ้นอยู่กับหมู่ 10 บ้านสวนขนุน ตำบลทับสะแก ต่อมานายเชือน สายสกล เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้มีการแบ่งแยกหมู่บ้าน ขึ้นในเขตพื้นที่นั้นมีต้นมะเดื่ออยู่มากมายจะมีสีเหลืองเหมือนทอง จึงเรียกว่า “บ้านมะเดื่อทอง” หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งกลาง ที่มา : สมัยก่อนบ้านทุ่งกลางเป็นป่าดงดิบต่อมามีคนเข้ามาจับจองที่ดินทำมาหากินและพื้นที่นี้มีลักษณะพิเศษ คือ บริเวณล้อมรอบเป็นป่าดงดิบแต่ตรงกลางมีลักษณะเป็นทุ่งโล่งจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านทุ่งกลาง” หมู่ที่ 7 บ้านกลาง ที่มา : เดิมเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านพุตะแบก” ต่อมามีการแยกหมู่บ้านแบ่งเขตการปกครองใหม่จึงมีการตั้งหมู่บ้านใหม่เรียกว่า “บ้านกลาง” หมู่ที่ 8 บ้านดอนใจดี ที่มา : มาจากการที่คนในหมู่บ้านมีจิตใจดีชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่นเวลามีการสร้างวัดหรือโรงเรียนทุกคนในหมู่บ้านก็ช่วยกันสร้างและบริจาคสิ่งของจึงเรียกชื่อว่า “บ้านดอนใจดี ” หมู่ที่ 9 บ้านสวนส้ม ที่มา : เดิมชื่อบ้านคลองช่องลมขึ้นอยู่กับหมู่ 5 บ้านมะเดื่อทอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2528 ได้มีการแยกจากหมู่ 5 ชาวบ้านในหมู่บ้านมีการทำสวนส้มกันมากจึงนำมาตั้งชื่อหมู่บ้านเรียกว่า “บ้านสวนส้ม” หมู่ที่ 10 บ้านสวนขนุน ที่มา : เดิมบ้านสวนขนุนมีพื้นที่เป็นป่ารกทึบและมีป่าขนุนโบราณซึ่งมีจำนวนมากชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “บ้านสวนขนุน” หมู่ที่ 11 บ้านห้วยน้ำทรัพย์ ที่มา : สมัยก่อนหมู่บ้านนี้บริเวณห้วยมีน้ำไหลตลอดทั้งปีจึงเรียกว่า “บ้านห้วยน้ำทรัพย์”
ประชากร
สถิติบ้านและประชากร พื้นที่ ตำบละ เขาล้าน อำเภอ: ทับสะแก จังหวัด: ประจวบคืรีขันธ์ ระหว่างวันที่1ถึง 18 ตุลาคม 2562
ภาพ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของตำบลเขาล้านเป็นพื้นที่ลาดเอียงจากด้านทิศตะวันตกบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีไปทางทิศตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ตำบลมีลักษณะเป็นภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตกเป็นบางส่วนมีที่เป็นที่ดอนหมู่ 3 เป็นพื้นที่ที่ต่ำที่สุด และนอกจากนี้ยังมีพื้นที่ ดอนสลับกับที่ราบลุ่มบริเวณทิศใต้ของตำบล
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อนจะร้อนและแห้งแล้ง ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีลมแรงฝนตกไม่สม่ำเสมอ ฤดูหนาวไม่หนาวจัดทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากตำบลเขาล้านมีพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขาตะนาวศรีจึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์และยังมีพื้นที่ส่วนใหญ่ในการทำเกษตรกรรม ทางด้านของแหล่งน้ำธรรมชาติมีทั้ง คลอง ลำห้วย หนองน้ำ กระจายอยู่ทั่วทั้งตำบลแหล่งที่สำคัญมีดังนี้ คลองสวนส้ม ห้วยบ่อ ห้วยดอนใจดี หนองปลา เป็นต้น แหล่งน้ำ ธรรมชาตินี้จะมีน้ำมากเฉพาะฤดูฝนส่วนฤดูอื่นจะมีน้ำขังอยู่บ้าง และไม่สามารถนำมาใช้ในด้านการเกษตรในฤดูแล้งได้
verified_user
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้ มาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ ๑. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ๒. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ๓. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ๔. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๕. จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมแก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ๖. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ๗. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๘. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ ๑. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ๒. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ๓. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ ๔. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร มาตรา ๖๙ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่ดำเนินกิจการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควรในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การ หรือหน่วยงานภาครัฐ นำความเห็นองค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย มาตรา ๖๙/๑ การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด มาตรา ๗๐ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชในตำบลเว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ มาตรา ๗๑ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อบังคับใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดแย้งต้อกฎหมายฯ มาตรา ๗3 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หรือร่วมกับสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก้องค์กรปกครองสาวนถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเอประโยชน์ของประชาชนในท้องถื่นของตนเอง ดังนี้ ๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ๒. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ ๓. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ๔. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ ๕. การสาธารณูปการ ๖. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ๗. การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน ๘. การส่งเสริมการท่องเที่ยว ๙. การจัดการศึกษา ๑๐. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส ๑๑. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๑๒. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ๑๓. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ๑๔. การส่งเสริมกีฬา ๑๕. การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ๑๖. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ๑๗. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ๑๘. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ๑๙. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ๒๐. การจัดให้มีและความคุมสุสานและฌาปนสถาน ๒๑. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ๒๒. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ๒๓. การรักษาความปอลดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ ๒๔. การจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕. การผังเมือง ๒๖. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ๒๗. การดูแลสาธารณะ ๒๘. การควบคุมอาคาร ๒๙. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๓๐. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ๓๑. กิจการอื่นใดที่เป็นผลปะโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด